บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารการศึกษาต่อ

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กว่าจะมาเป็นหมอ

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา

การศึกษาต่อสายอาชีวศึกษา
นักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วมีทางเลือกในการศึกษาต่อทางด้านสายอาชีพอีกทางหนึ่ง นั่นก็คือศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวศึกษา ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือและระดับผู้ชำนาญการเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน

หลักสูตรการศึกษา
เปิดการศึกษาในประเภทวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
                1.1 สาขาวิชาเครื่องกล แบ่งออกเป็น สาขางานยานยนต์ เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องกลเรือ เครื่องกลเกษตร  ตัวถังและสีรถยนต์
                1.2 สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง แบ่งออกเป็น สาขางานเครื่องมือกล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เขียนแบบเครื่องกล ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลเกษตร แม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ
                1.3 สาขาวิชาโลหะการแบ่งออกเป็น สาขางานเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร
                1.4 สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น สาขางานไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม เมคคาทรอนิกส์ เทคนิคคอมพิวเตอร์
                1.5 สาขาวิชาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น สาขางานก่อสร้าง โยธา สถาปัตยกรรม เครื่องเรือนและการตกแต่งภายใน สำรวจ
                1.6 สาขาวิชาการพิมพ์ แบ่งออกเป็น สาขางานการพิมพ์
                1.7 สาขาวิชาแว่นตาและเลนส์ แบ่งออกเป็น สาขางานแว่นตาและเลนส์
                1.8 สาขาวิชาการต่อเรือ แบ่งออกเป็น สาขางานต่อเรือโลหะ ต่อเรือไม้ ต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส นาวาสถาปัตย์ ซ่อมบำรุงเรือ
                1.9 สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งออกเป็น สาขางานผลิตภัณฑ์ยาง
2. ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
                2.1 สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
                2.1 สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด
3.ประเภทวิชาศิลปกรรม
                3.1 สาขาวิชาศิลปกรรมแบ่งออกเป็น สาขางาน วิจิตรศิลป์ การออกแบบ ศิลปหัตถกรรม อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เครื่องเคลือบดินเผา เทคโนโลยีการถ่ายภาพฯ เครื่องประดับอัญมณี ช่างทองหลวง เทคโนโลยีศิลปกรรม การพิมพ์สกรีน คอมพิวเตอร์กราฟิก ศิลปหัตถกรรมโลหะ รูปพรรณและเครื่องประดับ ดนตรีสากล เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ช่างทันตกรรม
4. ประเภทวิชาคหกรรม
                4.1 สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกายแบ่งออกเป็น สาขางาน ผลิตและตกแต่งสิ่งทอ ออกแบบเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ธุรกิจเสื้อผ้า
                4.2 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการแบ่งออกเป็น สาขางาน อาหารและโภชนาการ แปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร
                4.3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน คหกรรมการผลิต คหกรรมการบริการ ธุรกิจคหกรรม คหกรรมเพื่อการโรงแรม
                4.4 สาขาวิชาเสริมสวยแบ่งออกเป็น สาขางาน เสริมสวย
5. ประเภทวิชาเกษตรกรรม
                5.1 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์แบ่งออกเป็น สาขางาน พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ช่างเกษตร เกษตรทั่วไป การประมง
6. ประเภทวิชาประมง
                6.1 สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
                6.2 สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ แบ่งออกเป็น สาขางาน แปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตซูริมิและผลิตภัณฑ์
                6.3 สาขาวิชาประมงทะเล แบ่งออกเป็น สาขางาน ประมงทะเล
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
                7.1 สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น สาขางาน การโรงแรม การท่องเที่ยว
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
                8.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสิ่งทอ
                8.2 สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ แบ่งออกเป็น สาขางาน เคมีสิ่งทอ
                8.3 สาขาวิชาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบ่งออกเป็น สาขางาน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป
9. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                9.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
                9.2 สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเสียง แบ่งออกเป็น สาขางาน เทคโนโลยีระบบเสียง
10. หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) 2551
                10.1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาเอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
                10.2 สาขาวิชาเครื่องกล วิชาเอก เทคนิคช่างยนต์
                10.3 สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิชาเอก เชื่อมและประสาน
                10.4 สาขาวิชาโยธา วิชาเอก เทคนิคโยธา
                10.5 สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้ากำลัง
                10.6 สาขาวิชาไฟฟ้า วิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร


แหล่งข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

การศึกษาสายสามัญ

การศึกษาต่อสายสามัญ (ม.4-ม.6)
การศึกษาต่อของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตัวนักเรียนเพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเส้นทางอาชีพว่าจะเดินต่อไปในทางใด การศึกษาต่อหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วการเข้าศึกษาต่อในสายสามัญคือ มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 เป็นการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงชั้นที่ 4 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาต่างๆ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคือ 3 ปีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน คือ
                1.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(วิทย์-คณิต)
                2.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)
                3.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)
                4.กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (ศิลป์-สังคม)

การศึกษาต่อ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2555
ได้แบ่งการศึกษา ออกเป็น 3 ระดับการศึกษา คือ
1. ระดับประถมศึกษา
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เมื่อจบการศึกษาในแต่ละระดับ จะมีแนวทางศึกษาต่อได้ในทางใดบ้าง ???

1. เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


2. เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3. เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6




ข้อคิดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ

1. การรู้จักตนเอง

2. การรู้จักโลกกว้างทางการศึกษา ท่านสามารถศึกษาข้อมูลได้จากข้อความข้างต้น ในหัวข้อ “เมื่อจบการศึกษา…”

3. การรู้จักโลกกว้างทางอาชีพ

4. การรู้จักการตัดสินใจอย่างรอบคอบ

การประมวลข้อมูลทั้ง 4 ข้อ จะทำให้ท่านสามารถเลือกการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม และถ้าท่านมีข้อข้องใจ หรือข้อสงสัย

เพลงเบาๆๆๆ