บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารการศึกษาต่อ

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน


ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

UploadImage

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
                ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เป็นเป้าหมายในการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นสังคมที่สมาชิกมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน มีเสถียรภาพ มีสันติภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้นในชีวิตและทรัพย์สิน

                การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
                 (1) สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
                (2) เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการมีความมั่นคงของมนุษย์ และ
                (3) ให้ประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค

UploadImage
                กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมกว่า 25 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และสหภาพยุโรปด้วย


UploadImage
                นอกจากการมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมือที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐสมาชิกด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยสันติวิธี หรือปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

UploadImage
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ “ประชาคมอาเซียน”) เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้

     การแข่งขันที่สูงในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการรวมกลุ่มทางการค้าของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2545 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ

UploadImage
     กระบวนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักในการที่จะทำให้อาเซียนบรรลุสู่การเป็น ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายในปีเป้าหมาย 2558 มีรากฐานมาจากนำความร่วมมือและความตกลงทางเศรษฐกิจที่อาเซียนได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ความตกลงด้านการส่งเสริมการลงทุนอาเซียน ความตกลงด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน

     ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากหลักการของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด การแบ่งงานกันทำ และการพัฒนาความชำนาญในการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน

     ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา (2550) ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันลงนามในแผนงานว่าด้วยการดำเนินงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจภายในปี 2558 โดยในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการนำแผนงานดังกล่าวไปปฏิบัติ

UploadImage

     หากอาเซียนสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และเปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ ซึ่งอาเซียนยังมีความต้องการด้านการบริการเหล่านี้อีกมาก นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม


ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/


ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน


ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

UploadImage

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน
“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558


UploadImage

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน

3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
 เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2510ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี


UploadImage

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1)ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2)ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3)เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4)ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5)ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6)เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
และ(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ


นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6เมื่อปี 2527เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7ในปี 2538ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10ประเทศ

ได้รู้จัก ที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียน กันไปแล้ว ในตอนหน้า เรามาเรียนรู้ผลกระทบ ผลได้ผลเสีย ของประเทศไทยในด้านต่างๆกันบ้างนะคะ  จะได้เตรียมตัว รับมือกันได้ทันปี 2558 ค่ะ


ณัฐตินัน วรรณารักษ์
ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ

http://www.mfa.go.th/

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์ 7-14 ก.ค. 55


สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์ 7-14 ก.ค. 55

 สวัสดีคร๊าบบบบ...วันนี้เราก็มีสรุปข่าวในแวดวงการศึกษาที่น่าสนใจประจำสัปดาห์นี้ (7- 14 กรกฏาคม 55) มาให้ติดตามกันอีกเช่นเคย พร้อมแล้วไปดู 5 อันดับข่าวฮิตกันเลย!!!
UploadImage 


เริ่มกันที่ อันดับ 5จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 15,986คน  
คือ ข่าว "ม.ขอนแก่น เปิดโควตารับตรง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกคณะ" ซึ่งเป็นโควตาสำหรับน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 จากโรงเรียน / วิทยาลัย / สถาบันต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีโอกาสเข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอื่นในภาคอีสานที่เข้าร่วมโครงดารนั่นเองครับ และน้องๆสามารถเข้าไปดูกำหนดการได้ที่ http://reg2.kku.ac.th/eregistration/index.aspหรือทาง ENN ก็ได้ ครับ :http://www.enn.co.th/3488

อันดับ 4 จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 18,219คน   
           สิ้นสุดการรอคอยครับกับข่าว"รับตรง จุฬาฯ แบบปกติ 56" ซึ่งเป็นโควตารับตรงโดยออกมา 5โครงการ คือ
1. รับตรง   คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2. รับตรง   คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
3. รับตรง หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์
4. รับตรง โครงการนักวิทยาศาสตร์การกีฬาอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
5. รับตรง   หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์

อันดับที่ 3 จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 18,279คน
ประจำสัปดาห์นี้เป็นข่าวมาใหม่ คือ "รับตรง แพทย์ ม.แม่ฟ้าหลวง 56"  โดยโควตา นี้จะแบ่งออกเป็น 2แบบ คือโควตาภาคเหนือ 20 คน  และ รับตรงทั่วประเทศ  12 คนโดยสามารถดูรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.enn.co.th/3837

 

ส่วนข่าว "รับตรง แพทย์ จุฬาฯ 56" ที่หลายๆ คนให้ความสนใจมาอยู่ที่ อันดับ 2จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 19,908คน 

โดยเป็นรายระเอียดของโควตารับตรงของ จุฬา
ประกอบไปด้วย 4 โครงการคือ
1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธ ารณสุข
2. โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
3. โครงการโอลิมปิกวิชาการ(ชีวะวิทยา)
4. โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับแพทย์ทหารอากาศ


และก็เดินทางมาถึงข่าวฮิตฮอต อันดับที่ 1 จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 24,165 คน   กับข่าว "ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน" 

ซึ่งข่าวนี้อยู่ใน Top 5ในอันดับต้นๆ มาหลายสัปดาห์แล้ว
โดยข่าวนี้เป็น สกู๊ป บทความพิเศษที่บอกถึงความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน ให้น้องๆได้ศึกษาข้อมูลได้ และสาเหตุที่ข่าวนี้พุ่งขึ้นมาจนเป็นอันดับที่1 ได้อาจเป็นเพราะว่าน้องเข้ามาเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน เพื่อทำรายงานหรือหาความรู้เพื่อเป็นข้อมูลในการสอบก็เป็นได้ครับและน้องๆสามารถเข้าดูรายระเอียดเพิ่มเติมของข่าวนี้ได้ที่ : http://www.enn.co.th/2308 ครับ 
 

                เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 อันดับข่าวยอดฮิตประจำสัปดาห์...มีข่าวที่น้องๆ สนใจเป็นพิเศษติดอันดับกันบ้างหรือเปล่าครับ...ถ้ายังไม่มีก็ตามมาลุ้นต่อในสัปดาห์หน้ากันนะครับ ว่าจะติดอันดับ Top 5หรือเปล่า แล้วพบกันครับ!

พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56


พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56


  UploadImage

พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56 


          ใกล้ถึงเวลาแห่งเทศกาลสอบของน้องๆ ม.ปลายเข้ามาทุกที...ไม่ว่าจะเป็นการสอบประจำภาคเรียนของแต่ละโรงเรียน การสอบตรงรับตรง การสอบ GAT/ PAT สอบ O-NET รวมทั้งอีกหนึ่งการสอบคัดเลือก สำหรับน้องๆ ที่ใฝ่ฝันว่าโตขึ้นหนูอยากเป็นหมอ...การสอบแพทย์ กสพท. นั่นเอง



รายวิชาและสัดส่วนคะแนนในการคัดเลือกเข้าศึกษา ปี 2556
UploadImage



          โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกแพทย์ กสพท. ปีการศึกษา 2556 ยังเหมือนกับของปีการศึกษา 2555 คือ วิชาเฉพาะแพทย์ 30% บวกกับ 7 วิชาสามัญอีก 70% ซึ่งแบ่งเป็น 7 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40% วิชาคณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% วิชาภาษาไทย 10% และสังคมศึกษา 10% รวมทั้งหมด 100% และน้องๆ ที่จบ ม.6 ในปีการศึกษา 2555 ต้องสอบ O-NET ของปี 55 โดยต้องมีคะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%



          ทีนี้เรามาดูปฏิทินการรับสมัครของปี 2556 กันบ้าง จะได้เตรียมตัวลงสนามสอบด้วยความมั่นใจ



UploadImage



          จากนั้น เราลองมาดูสถิติคะแนนสูงสุด- ต่ำสุด ของปีการศึกษา 2555 กัน...


UploadImage



          แถมคะแนนสูงสุด- ต่ำสุดย้อนหลังตั้งแต่ปี 2552-2555 ของแต่ละสถาบัน

 UploadImage



          ข้อมูลสำคัญอีกอย่างที่จะช่วยให้น้องๆ เตรียมตัวได้อย่างเป็นระบบก็คือ คณะและสถาบันที่ร่วมสอบคัดเลือกพร้อมกับจำนวนที่รับนั่งเอง

   UploadImage



          เมื่อเราทราบหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ปฏิทินการสมัครการสอบ สถิติคะแนนสูงสุด- ต่ำสุด รวมทั้งจำนวนรับที่แต่ละคณะ/ สถาบันรับแล้ว ก็ต้องมาวางแผนในการอ่านหนังสือ เตรียมความพร้อมให้กับตัวเองเพื่อลงสู่สนามสอบอย่างมั่นใจกันต่อไป ซึ่งนอกจากน้องๆ สามารถอ่านตำราเรียนปกติแล้ว ทางลัดที่จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือก็คือ การหาแนวข้อสอบย้อนหลังมาศึกษา เพื่อจะได้รู้แนวของข้อสอบว่าเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้น้องๆ อ่านหนังสือได้ตรงและแม่นยำขึ้น



          นอกจากนั้นแล้ว แนะนำอีกวิธี...วิธีนี้หากน้องๆ คนไหนที่มีรุ่นพี่สอบติดในโครงการนี้นับว่าได้เปรียบคนอื่นๆ มาก เราสามารถที่จะสอบถามประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ได้เลย...ซึ่งส่วนมากที่ได้ยินมาจากรุ่นก่อนๆ หลายคนพูดตรงกันว่า ในการสอบ 7 วิชาสามัญ.....ภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการทำข้อสอบ 80 ข้อ Part ที่เป็น Reading เนื้อความจะยาวมาก ซึ่งถ้าน้องๆ ใช้เวลาในการอ่านตรงนี้มากเกินไปก็จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน ฉะนั้น ทางหนึ่งก็คือ ฝึกอ่านเยอะๆ ฝึกทำข้อสอบเยอะๆ และบริหารจัดการเรื่องเวลาให้ดี จะได้ไม่พลาด.....วิชาคณิตศาสตร์ว่ากันว่าโดยรวมแล้วง่ายกว่าการสอบ PAT1 ตัวอย่างข้อสอบ เช่น มีข้อหนึ่งถามว่า ในการจัดเด็ก 7 คน ซึ่งมีอายุ 1 2 3 4 5 6 7 ขวบ นั่งเก้าอี้ 7 ตัว ซึ่งติดหมายเลข 1 2 3 4 5 6 7 โดยกำหนดให้เด็กที่จะนั่งเก้าอี้หมายเลข K ต้องมีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ K - 1 ขวบ จะมีจำนวนวิธีในการจัดเท่ากับข้อใด เป็นต้น.....วิชาฟิสิกส์จะออกของ ม.5 เยอะที่สุด..... วิชาภาษาไทย จะเน้นเรื่องอนุมาน และจะเป็นแนววิเคราะห์ซะส่วนใหญ่..... วิชาสังคมศาสตร์ ก็จะเป็นเรื่องหลักจริยธรรม ระบบการเมืองการปกครอง ภูมิศาสตร์ และอาจจะมีเรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมอยู่ด้วย ตรงนี้เป็นมุมมองของผู้เขียนนะคะ เพราะปัจจุบันมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นในสังคมเรามากมายนั่นเอง...รู้แบบนี้แล้ว วิชาไหนที่เค้าว่ายากน้องๆ ก็ต้องอ่านหนังสือกันให้เข้มข้นขึ้นนะคะ



          ส่วนใหญ่แล้ว หลายๆ คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สอบไม่ยากเท่า GAT/ PAT แต่ไม่ว่าจะยากหรือง่ายกว่าก็ไม่สำคัญ ถ้าน้องๆ เรียมตัวดีซะอย่าง เจอข้อสอบแบบไหนก็ทำได้สบายมาก...คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนเก่ง ของเพียงเรามีความมุ่งม่นตั้งใจและใส่ความขยันเพิ่มเข้าไป รับรองได้เลยว่า “ฝันก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม” ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ คน ทำความฝันให้เป็นจริงค่ะ!!!




          UploadImage



          ทิ้งท้ายกันด้วย คลิปสัมภาษณ์ น้องแพรว ชุติภา ศรีพงษ์พันธุ์กุล ที่ 1 ประเทศไทยในการสอบแพทย์ กสพท. ปี 55...








ภารดี วงค์เขียว
ศุนย์ข่าวการศึกษาไทย






อ้างอิง:
http://www.eduzones.com
http://www.youtube.com/

พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56


พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56


  UploadImage

พร้อมหรือยังกับการสอบแพทย์ กสพท.56 


          ใกล้ถึงเวลาแห่งเทศกาลสอบของน้องๆ ม.ปลายเข้ามาทุกที...ไม่ว่าจะเป็นการสอบประจำภาคเรียนของแต่ละโรงเรียน การสอบตรงรับตรง การสอบ GAT/ PAT สอบ O-NET รวมทั้งอีกหนึ่งการสอบคัดเลือก สำหรับน้องๆ ที่ใฝ่ฝันว่าโตขึ้นหนูอยากเป็นหมอ...การสอบแพทย์ กสพท. นั่นเอง



รายวิชาและสัดส่วนคะแนนในการคัดเลือกเข้าศึกษา ปี 2556
UploadImage



          โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกแพทย์ กสพท. ปีการศึกษา 2556 ยังเหมือนกับของปีการศึกษา 2555 คือ วิชาเฉพาะแพทย์ 30% บวกกับ 7 วิชาสามัญอีก 70% ซึ่งแบ่งเป็น 7 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40% วิชาคณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% วิชาภาษาไทย 10% และสังคมศึกษา 10% รวมทั้งหมด 100% และน้องๆ ที่จบ ม.6 ในปีการศึกษา 2555 ต้องสอบ O-NET ของปี 55 โดยต้องมีคะแนนรวมเท่ากับหรือมากกว่า 60%



          ทีนี้เรามาดูปฏิทินการรับสมัครของปี 2556 กันบ้าง จะได้เตรียมตัวลงสนามสอบด้วยความมั่นใจ



UploadImage



          จากนั้น เราลองมาดูสถิติคะแนนสูงสุด- ต่ำสุด ของปีการศึกษา 2555 กัน...


UploadImage



          แถมคะแนนสูงสุด- ต่ำสุดย้อนหลังตั้งแต่ปี 2552-2555 ของแต่ละสถาบัน

 UploadImage



          ข้อมูลสำคัญอีกอย่างที่จะช่วยให้น้องๆ เตรียมตัวได้อย่างเป็นระบบก็คือ คณะและสถาบันที่ร่วมสอบคัดเลือกพร้อมกับจำนวนที่รับนั่งเอง

   UploadImage



          เมื่อเราทราบหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ปฏิทินการสมัครการสอบ สถิติคะแนนสูงสุด- ต่ำสุด รวมทั้งจำนวนรับที่แต่ละคณะ/ สถาบันรับแล้ว ก็ต้องมาวางแผนในการอ่านหนังสือ เตรียมความพร้อมให้กับตัวเองเพื่อลงสู่สนามสอบอย่างมั่นใจกันต่อไป ซึ่งนอกจากน้องๆ สามารถอ่านตำราเรียนปกติแล้ว ทางลัดที่จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือก็คือ การหาแนวข้อสอบย้อนหลังมาศึกษา เพื่อจะได้รู้แนวของข้อสอบว่าเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้น้องๆ อ่านหนังสือได้ตรงและแม่นยำขึ้น



          นอกจากนั้นแล้ว แนะนำอีกวิธี...วิธีนี้หากน้องๆ คนไหนที่มีรุ่นพี่สอบติดในโครงการนี้นับว่าได้เปรียบคนอื่นๆ มาก เราสามารถที่จะสอบถามประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ได้เลย...ซึ่งส่วนมากที่ได้ยินมาจากรุ่นก่อนๆ หลายคนพูดตรงกันว่า ในการสอบ 7 วิชาสามัญ.....ภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการทำข้อสอบ 80 ข้อ Part ที่เป็น Reading เนื้อความจะยาวมาก ซึ่งถ้าน้องๆ ใช้เวลาในการอ่านตรงนี้มากเกินไปก็จะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน ฉะนั้น ทางหนึ่งก็คือ ฝึกอ่านเยอะๆ ฝึกทำข้อสอบเยอะๆ และบริหารจัดการเรื่องเวลาให้ดี จะได้ไม่พลาด.....วิชาคณิตศาสตร์ว่ากันว่าโดยรวมแล้วง่ายกว่าการสอบ PAT1 ตัวอย่างข้อสอบ เช่น มีข้อหนึ่งถามว่า ในการจัดเด็ก 7 คน ซึ่งมีอายุ 1 2 3 4 5 6 7 ขวบ นั่งเก้าอี้ 7 ตัว ซึ่งติดหมายเลข 1 2 3 4 5 6 7 โดยกำหนดให้เด็กที่จะนั่งเก้าอี้หมายเลข K ต้องมีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ K - 1 ขวบ จะมีจำนวนวิธีในการจัดเท่ากับข้อใด เป็นต้น.....วิชาฟิสิกส์จะออกของ ม.5 เยอะที่สุด..... วิชาภาษาไทย จะเน้นเรื่องอนุมาน และจะเป็นแนววิเคราะห์ซะส่วนใหญ่..... วิชาสังคมศาสตร์ ก็จะเป็นเรื่องหลักจริยธรรม ระบบการเมืองการปกครอง ภูมิศาสตร์ และอาจจะมีเรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมอยู่ด้วย ตรงนี้เป็นมุมมองของผู้เขียนนะคะ เพราะปัจจุบันมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นในสังคมเรามากมายนั่นเอง...รู้แบบนี้แล้ว วิชาไหนที่เค้าว่ายากน้องๆ ก็ต้องอ่านหนังสือกันให้เข้มข้นขึ้นนะคะ



          ส่วนใหญ่แล้ว หลายๆ คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สอบไม่ยากเท่า GAT/ PAT แต่ไม่ว่าจะยากหรือง่ายกว่าก็ไม่สำคัญ ถ้าน้องๆ เรียมตัวดีซะอย่าง เจอข้อสอบแบบไหนก็ทำได้สบายมาก...คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนเก่ง ของเพียงเรามีความมุ่งม่นตั้งใจและใส่ความขยันเพิ่มเข้าไป รับรองได้เลยว่า “ฝันก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม” ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ คน ทำความฝันให้เป็นจริงค่ะ!!!




          UploadImage



          ทิ้งท้ายกันด้วย คลิปสัมภาษณ์ น้องแพรว ชุติภา ศรีพงษ์พันธุ์กุล ที่ 1 ประเทศไทยในการสอบแพทย์ กสพท. ปี 55...








ภารดี วงค์เขียว
ศุนย์ข่าวการศึกษาไทย






อ้างอิง:
http://www.eduzones.com
http://www.youtube.com/

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์ 4-11 ส.ค. 55


สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์ 4-11 ส.ค. 55

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์ 4-11 ส.ค.  55

UploadImage

อันดับ 1 ข่าว“ รับตรง ม.มหาสารคาม 56 ” จำนวนคนเข้าชม 57,022 คน http://www.enn.co.th/3887

อันดับ 2 ข่าว“ ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน ” จำนวนคนเข้าชม 24,855 คน http://www.enn.co.th/2308

อันดับ 3 ข่าว“ กำหนดการ โควตา มหิดล 56 มา แล้ว !!! ” จำนวนคนเข้าชม 17,117คน http://www.enn.co.th/4147

อันดับ 4 ข่าว“ รับตรง ทั่วประเทศ ม.อุบลราชธานี 56 ” จำนวนคนเข้าชม 16,920 คน http://www.enn.co.th/4101

อันดับ 5 ข่าว“ รับตรง เภสัชศาสตร์ กลุ่มที่ 1 ม.ขอนแก่น 56 ” จำนวนคนเข้าชม 15,280 คน http://www.enn.co.th/4206